หน้าแรก
ข่าว
บทความ
เกร็ดความรู้
Media Link
Webboard
About Us
บทความ

ไอทีวีพ่วงสื่อใหม่ จัดรายการตามกลุ่มผู้ชม

       มองการปรับตัวของโทรทัศน์ยุคใหม่ แนวทางการเพิ่มรายได้ตอบสนองไลฟ์สไตล์ผ่านไอทีวี ที่พร้อมเปิดตัวสู่สื่อใหม่ ใช้ช่องทางการพัฒนาเทคโนโลยีของอุปกรณ์สื่อสารเป็นตัวกระจายรายการสู่ผู้ชม ด้วยจุดแข็งเป็นสถานีที่ผลิตรายการระบบดิจิตอล ที่มุ่งสู่ทิศทางของการเป็นสื่อที่เป็นมัลติมีเดีย เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น อาศัยช่องไอทีวีเป็นตัวหลักสร้างรายการสู่ระดับมวลชน จากนั้นพัฒนาคอนเท็นต์ให้สามารถตอบสนองกลุ่มเฉพาะได้ จุดที่น่าสนใจของการปรับเปลี่ยนสู่ปัจจุบันการแข่งขันเริ่มเข้มข้นขึ้นทุกขณะ “คอนเท็นต์ของไอทีวี มีวิธีการเลือกลง ในแต่ละช่องทาง อันดับแรกเราต้องดูกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนอย่างเราจะบอกว่าเราอาจจะมีการส่งข่าวสารอาเชียนซีรีส์เข้าไปหากลุ่มวัยรุ่น ส่งข่าวหุ้นไปหานักธุรกิจ อนาคตจะถูก Segment มากขึ้นเรื่อยๆ วันนี้อาจจะมีแค่ข่าวกลางๆ ไปหาคนทั่วไป แต่ในอนาคตมันต้อง Segment แน่ๆ เพราะว่าการเข้าถึงคือการเข้าไปอยู่ลึกๆ ไม่ใช่ไปกว้างๆ”
แนวคิดที่นายทรงศักดิ์ เปรมสุข กรรมการผู้จัดการ บริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) วางไว้เขามองทิศทางการพัฒนารายการของสถานีโทรทัศน์ไอทีวีเพื่อตอบสนองคนดูให้มากที่สุดในยุคใหม่ด้วยแนวคิดที่ว่าเนื้อหารายการประเภทต่างๆ ของไอทีวีจะต้องการกระจายออกไปตามสื่อต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สื่อใหม่เป็นการพัฒนาตามเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ โทรศัพท์มือถือ พีดีเอ หรือแม้แต่คอมพิวเตอร์
รูปแบบรายการใหม่ที่ออกช่องทางสื่อใหม่ ได้มีผลมาจากการเป็นสถานีโทรทัศน์ที่พัฒนาด้วยการใช้ระบบดิจิตอล ทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลรายการได้แล้วสามารถเรียกมาดูเมื่อไรก็ได้ ต่างจากระบบอะนาล็อกในอดีต ปัจจุบันมีการพัฒนาจากทีวี มาสู่อินเทอร์เน็ต มีการใช้เว็บไซต์ www.itv.com ตอบสนองเรื่องของข่าวสารมากยิ่งขึ้น มี video clip ที่สามารถดูทีวีผ่านอินเทอร์เน็ต
ในอนาคตนายทรงศักดิ์ยกตัวอย่างว่า รายการที่ไอทีวีมีอยู่อาจพัฒนาให้จัดเก็บข้อมูล (Archives) ที่ดีขึ้นแล้วพัฒนาให้สามารถเรียกดูได้โดยทำให้เป็นการขายรายการในอีกรูปแบบหนึ่งที่ผ่านมารายการโทรทัศน์เมื่อมีการออกอากาศไปแล้วก็คือออกไปเลย ไม่สามารถที่จะเรียกดูใหม่ได้ แต่การที่เป็นดิจิตอล ประชาชนที่พลาดรายการไปแล้วสามารถที่จะเข้าไปดูทางอินเทอร์เน็ตได้ บางข่าวที่ไอทีวีเสนอในทีวีไม่ละเอียดพอ ก็สามารถหาช่องทางให้รายละเอียด เช่น ผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ ตัวอย่างการออกอากาศสัมภาษณ์ได้เพียง 3-5 นาที แต่ทางอินเทอร์เน็ตอาจเป็นครึ่งชั่วโมงทั้งนี้เป็นเรื่องของเทคโนโลยีที่ทำให้ได้
รูปแบบรายการในอนาคตสามารถออกผ่านทางช่องทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็น Personal Device อะไรก็ได้ ที่ทำให้ผู้ชมสามารถรับทราบข่าวสารจากไอทีวี ในหลายหลากรูปแบบ อาจเป็นได้ทั้งเรื่องข้อความ Video Clips หรือ Real Broadcast ในอนาคตจะหาแนวทางพัฒนาให้คนทั่วไปใกล้ชิดและเข้าถึงรายการของไอทีวีได้มากขึ้น และมีความสะดวกมากที่สุด
นายทรงศักดิ์มองว่า Personal Device แต่ละประเภทเข้าถึงกลุ่มผู้ชมไม่เหมือนกัน เช่นคนที่เล่นอินเทอร์เน็ตมากที่สุดอาจไม่ใช่คนทำงาน อาจเป็นวัยรุ่น หรือเด็ก รายการที่ออกทางช่องอินเทอร์เน็ตไม่ใช่รายการข่าวอย่างเดียว อาจมีรายการเด็กด้วย เมื่อจบรายการก็มีการกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมในอินเทอร์เน็ตต่อเนื่อง เช่น การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต จึงต้องมองว่าอุปกรณ์ประเภทไหนเหมาะกับใครแล้วควรนำคอนเท็นต์ประเภทไหนไปใส่ทำให้เพิ่มคุณค่าของรายการมากยิ่งขึ้น ยิ่งการติดต่อระหว่างผู้ชมและผู้ผลิตรายการง่ายขึ้นก็เป็นไปได้ที่ไอทีวีจะเป็นสะพานให้ Content Provider รายอื่นเข้าร่วมนำเสนอรายการสู่คนดู ที่ชัดเจนคือช่องการชมมีเพิ่มขึ้นอีกหลายช่องมีลักษณะเป็น Segmentation กลุ่มคนดูมากขึ้น “เรายังถือว่าทีวียังเป็นสื่อหลักของเราเพราะว่าทีวีมีความเป็นมวลชน คนดูทุกระดับ ตั้งแต่จนสุดถึงรวยสุดแต่ Device อื่น ๆ มันเป็นเรื่องของ Segment โทรศัพท์มือถือที่ดูภาพได้ ไม่ใช่ทุกคนมี พีดีเอไม่ใช่ทุกคนมี คอมพิวเตอร์ไม่ใช่ทุกคนมี ก็ต้องดูว่าคุณจะเอาคอนเท็นต์อะไรไปใส่ใน Device แบบนั้นโดยเซ็กเมนต์อะไร”

นายทรงศักดิ์ให้เหตุผลว่าตามที่มีประสบการณ์มาคนเดินตามเทคโนโลยีได้เร็ว สองสามปีที่แล้วเมื่อพูดถึงอินเทอร์เน็ต อาจจะอยู่ที่ตัวเลขหลักล้าน แต่ปัจจุบันนับสิบล้านภายในไม่กี่ปี โทรศัพท์มือถือห้าหกล้านเครื่องประมาณห้าปีที่แล้ว วันนี้มันกลายเป็นกว่ายี่สิบล้านเครื่อง การส่งเอสเอ็มเอสเมื่อก่อนส่งกันไม่กี่ข้อความแต่วันนี้มีมโหฬาร
“วันนี้เทคโนโลยีเดินไป คนที่จะตอบสนองเทคโนโลยีก็ต้องเลือกให้เป็นว่าจะไปอย่างไรในอนาคตขึ้นอยู่กับว่าเราจะพัฒนาคอนเท็นต์เหล่านั้นให้ตอบสนองแต่ละเซ็กเมนต์ได้อย่างไร ถ้าในอนาคตเด็กอายุสิบห้าก็มีโทรศัพท์มือถือแล้ว นักธุรกิจอายุสามสิบห้าก็มีโทรศัพท์มือถือ คอนเท็นต์ที่จะเดินไปหาเขาต้องมีการแยกแยะ” เกี่ยวกับพฤติกรรมผู้ชมที่เปลี่ยนไป นาย ทรงศักดิ์วิเคราะห์ให้ฟังว่าเริ่มมีความ Personal Information มากขึ้น ขณะที่ในตลาดมี Device ใหม่ๆ ที่อยู่ใกล้ตัวมากคอมพิวเตอร์สามารถดูได้ทั้ง ทีวี ฟังเพลง วิทยุ ในรูปแบบมัลติมีเดียก็จะอยู่กับตัวผู้ใช้โดยมีความเป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้น “หากตอบสนองความต้องการผู้ชมได้ เท่ากับสร้างฐานคนดูรุ่นใหม่ สร้างเครือข่ายของคนดู การแข่งขันคุณต้องเข้าถึงผู้บริโภคให้ได้เร็ว ใกล้ชิด”
ข้อได้เปรียบของไอทีวีเข้ามาเริ่มต้นเปิดสถานีในยุคดิจิตอลการวางรากฐานการออกอากาศทั้งหมด เป็นดิจิตอลอยู่แล้ว เป็น Fundamental Ground Base ที่เป็นดิจิตอลสามารถพัฒนาได้เร็วเมื่อถึงยุค Digital Device เข้ามาไอทีวีก็สามารถพัฒนารองรับ สื่อใหม่ๆ ได้ทันทีโดยไม่ต้องลงทุนใหม่